Glossary entry (derived from question below)
English term or phrase:
flash mob
Thai translation:
แฟลชม็อบ
English term
flash mob
More than 4000 clubbers danced through the rush hour at Victoria station in Britain's biggest flash mob stunt. (The Travelin' Librarian)
By combining the power of the Internet to compare prices with the stealth tactics of the flash mob, team buyers are driving hard bargains in the world's hottest economy. (Christian Science Monitor)
The crowd got its instructions of where to meet via the mailing list of the London flash mob website. (BBC Home)
5 +2 | แฟลชม็อบ | Kim Meyers |
4 -1 | ฝูงชนชั่วพริบตา | cxp9 |
Jul 31, 2009 14:02: changed "Kudoz queue" from "In queue" to "Public"
Jul 31, 2009 14:45: Enrique Cavalitto changed "Stage" from "Preparation" to "Submission"
Jul 31, 2009 14:45: Enrique Cavalitto changed "Stage" from "Preparation" to "Submission"
Aug 4, 2009 20:22: l Gaston l changed "Stage" from "Submission" to "Selection"
Aug 1, 2010 14:54: changed "Stage" from "Selection" to "Completion"
Proposed translations
แฟลชม็อบ
"การชุมนุมของกลุ่มคนกว่า 4 พันคน ณ กรุงลอนดอน คือการรวมตัวกันก่อ “ม็อบชั่วพริบตา” หรือว่า Flash Mob ครั้งล่าสุด หลังจากที่แฟลชม็อบถือกำเนิดขึ้นในปี 2546 และเป็นปรากฏการณ์แรกที่ทำให้คนทั่วโลกได้รู้จัก ‘การชุมนุม’ ที่ไม่มีข้อเรียกร้อง ไม่ได้คิดต่อต้านใคร จะมีก็แต่ความพึงพอใจที่ได้แสดงออกซึ่งการกระทำบางอย่างร่วมกันเท่านั้น" "แฟลชม็อบครั้งแรก เกิดจากกลุ่มคนราว 100 คนที่เข้าไปกลุ้มรุมพนักงานขายพรมในห้าง Macy ซึ่งเป็นห้างสรรพสินค้าชื่อดังแห่งหนึ่งในย่านแมนฮัตตัน ประเทศสหรัฐอเมริกา เมื่อวันที่ 3 มิถุนายน 2546 โดยเงื่อนไขที่ม็อบต้องปฏิบัติตามก็คือว่า ถ้ามีพนักงานขายคนไหนสอบถามว่าพวกเขามาจากไหน ให้ทุกคนตอบเหมือนกันว่าพวกเขามาจากชุมชนแห่งหนึ่งซึ่งอยู่ในชนบท-ทางตอนเหนือของเมืองนิวยอร์ก และพวกเขาตั้งใจจะมาซื้อ ‘พรมแห่งความรัก’ ไปไว้ในชุมชน ซึ่งหมายความว่าการจะตัดสินใจซื้อพรมสักผืน ขึ้นอยู่ความเห็นชอบของคนทั้งหมดร้อยกว่าคน... ยังไม่ทันที่พนักงานขายจะหายงงหรือตั้งรับกลุ่มคนมากมายที่กรูเข้ามาสอบถามเรื่องพรมราคาเรือนแสนที่วางโชว์อยู่เรียงราย จู่ๆ คนเหล่านั้นก็แยกย้ายสลายตัวไปจากห้าง-เหมือนไม่มีอะไรเกิดขึ้นมาก่อน ทิ้งให้พนักงานขายงุนงงกับ ‘ม็อบ’ หรือ ‘การรวมตัวของกลุ่มคน’ ที่มองไม่เห็นว่ามีการจัดตั้งหรือมาชุมนุมกันได้อย่างไร และคำถามที่น่าสงสัยกว่านั้นก็คือพวกเขารวมตัวกันทำแบบนั้น ‘เพื่ออะไร?’" "จากการกล่าวอ้างของ ‘บิล วาสิก’ – Bill Wasik บรรณาธิการอาวุโสแห่งนิตยสาร Harper’s Magazine ซึ่งเขียนบทความเผยแพร่ในฮาร์เปอร์สเมื่อปี 2549 เขาบอกว่าแฟลชม็อบที่แมนฮัตตัน เกิดจากการที่เขาส่งข้อความไปยังชื่อและที่อยู่ในอีเมล์ลิสต์ของเขา เพื่อนัดแนะให้กลุ่มคนที่ (อาจจะ) ไม่เคยเห็นหน้าค่าตากันมาก่อน ออกมารวมตัวกัน และทำกิจกรรมแปลกๆ ที่เขาตั้งเงื่อนไขไว้ โดยมีจุดมุ่งหมายเพื่อให้ทุกคนมา ‘สนุก’ ด้วยกันก็เท่านั้น" "บิล วาสิก อธิบายไว้ในบทความของตัวเองว่าแรงจูงใจในการจัดแฟลชม็อบครั้งนั้น เป็นเพราะเขาต้องการทดลองปรากฏการณ์ทางสังคม และอีกแง่หนึ่งก็อยากจะแหย่พวก ‘ฮิปสเตอร์’ หรือ ‘เด็กแนว’ ที่กินความถึงคนหนุ่มสาววัยใกล้ยี่สิบไปจนถึงสามสิบต้นๆ ที่พยายามแสดงออกซึ่งความมีตัวตนของตัวเองผ่านการเข้าร่วมหรือการเป็นส่วนหนึ่งในเหตุการณ์ใหญ่ๆ ที่สังคมจะพูดถึงและจดจำในขณะหนึ่ง" "การทดลองของวาสิกประสบความสำเร็จ เพราะหลังจากแฟลชม็อบเกิดขึ้นที่แมนฮัตตันก็มีการจัดตั้งม็อบแบบนี้ในพื้นที่ต่างๆ ทั่วสหรัฐฯ และข่าวคราวก็แพร่สะพัดผ่านเทคโนโลยีการสื่อสารสมัยใหม่ไปยังประเทศอื่นๆ ทั่วโลก ทำให้แนวคิดเรื่องแฟลชม็อบแพร่ระบาดไปไกลกว่าที่คิด ซึ่งคงต้องยกเครดิตให้กับวาสิกในฐานะผู้สร้างกระแส (Trend Setter) ให้ม็อบสายพันธุ์ใหม่เกิดขึ้นในโลกแห่งการชุมนุม" (Action for Change)
"ม็อบในต่างบ้านต่างเมืองนั้นพัฒนารูปแบบกันไปไม่หยุดนิ่ง ในยุคที่การเมืองคือตัวการของปัญหาทุกอย่าง ม็อบถูกตั้งขึ้นเพื่อชนกับผู้นำประเทศ แต่ในยุคถัดมาที่ทุกปัญหามันช่างสลับซับซ้อน ไม่ได้รวมศูนย์อยู่ที่การเมือง ม็อบก็โยกย้ายตัวเองไปชนกับต้นตอของปัญหาในสาขาที่หลากหลาย พอมาถึงยุคที่เทคโนโลยีการสื่อสารฟูเฟื่อง ม็อบก็เคลื่อนไหวกันผ่านเอสเอ็มเอส เว็บไซต์ อีเมล์ มาจนกระทั่งเฟสบุ๊ก และทวิตเตอร์" "จนกระทั่งเกิดสิ่งที่เรียกว่า แฟลชม็อบ (Flash Mob) หรือการนัดรวมตัวในสถานที่สาธารณะเพื่อทำกิจกรรมบางอย่างในเวลาสั้นๆ แล้วแยกย้ายจากกันไปเหมือนไม่มีอะไรเกิดขึ้น ทิศทางการชุมนุมกันของประชาชนบนโลกใบนี้ก็ไม่เหมือนเดิมอีกต่อไป คือมีการชุมนุมกันเพื่อความสนุกอย่างเดียวเพื่อสร้างงานศิลปะเพื่อสะท้อนปัญหาบางอย่างในความเป็นเมืองผ่านกิจกรรมครีเอทีฟและประชดประชันรวมถึงไปนวัตกรรมล่าสุดที่เรียกว่า แครอทม็อบ (Carrot Mob)" (NGO Biz)
"...ปรากฎการณ์ที่เกิดในครั้งนี้ น่าจะเป็นเทรนด์ของการรวมตัวทำกิจกรรมของผู้คนในอนาคต ด้วยการที่แค่บอกว่า “มาทำอะไรกันเถอะ” แล้วคนก็มารวมตัวกันทำกิจกรรมที่ใช้เวลาไม่นานแล้วก็สลายตัวจากไป" "โดยกิจกรรมรูปแบบนี้จะขยายตัวจาก “ไมโครอีเวนท์” ของชุมชนออนไลน์ไปสู่ “แฟลช ม็อบ” ที่กำลังได้รับความสนใจในต่างประเทศ ที่นัดคนจำนวนมากมาทำกิจกรรมแล้วสลายตัวไปแบบรวดเร็ว โดยมีการถ่ายทอดสดไปลงเว็บไซต์ หรือถ่ายวิดีโอลงเว็บไซต์ยูว์ทูวป์ เป็นต้น" (Thairath Newspaper Online)
ฝูงชนชั่วพริบตา
กลุ่มคนกว่า 4,000 ชีวิตมาชุมนุมกัน ณ สถานีรถไฟใต้ดินวิคตอเรีย แล้วเต้นตามจังหวะอย่างเมามันจากเครื่องเล่น mp3 (HIP Magazine online)
นัดกันตีหมอนกลางถนนที่เบอร์มิงแฮม ประเทศอังกฤษ (HIP Magazine online)
ฝูงคนสตาฟที่ Edinburgh ประเทศสก็อตแลนด์ (HIP Magazine online)
disagree |
setsie
: The translation from HIP Magazine is not totally correct.
2 days 20 hrs
|
agree |
JangF
8 days
|
Thanks krub!
|
|
disagree |
Pleayo Tovaranonte
: กลุ่่มชนชั่วครู่ หรือ ม็อบชั่วครู่
31 days
|
Discussion